มหัศจรรย์มนุษย์กะเหรี่ยงคอยาว
ทัวร์ครึ่งวัน |
"กะเหรี่ยงคอยาว" นำเที่ยวชมหมู่บ้านชาวเขาเผ่า กะเหรี่ยงคอยาว(ปะด่อง), กระเหรี่ยง(ยาง) ,ลาหู่ (หูใหญ่)หรืออีกชื่อคือมูเซอ,ม้งหรืออีกชื่อหนึ่งคือแม้ว ชม วิถีชีวิตชาวไทย ภูเขา ที่มีเอกลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย และ ชมชนเผ่า ปะด่อง หรือ ที่รู้จักโดยทั่วไปคือ กระเหรี่ยงคอยาว วัฒนธรรม เป็น ของชนเผ่าที่ไม่เหมือน วิถีชีวิต คนในเมือง เรานำท่านไปชมว่า ชนเผ่านี้ คอยาวจริงหรือไม่ ทำไม พวกเขาที่เป็นเพศหญิงเหล่านั้นจึงต้องใส่ห่วงที่คอตั้งแต่ยังเด็ก ที่เขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.

"กะเหรี่ยงคอยาว" หรือชนเผ่าปาดอง ชาวปาดองยังชีพด้วยการเกษตรกรรม ปลูกข้าว ใบชา ยาสูบส่วนใหญ่จะนับถือ ศาสนาพุทธกับถือผี หญิง สาวชาวปาดอง จะสวมห่วงทองเหลืองที่คอและแขนขาและจะเพิ่มจำนวนห่วงมากขึ้นเมื่อ มีอายุเพิ่มขึ้น การ สวมห่วงค้ำคอไว้ตลอดเวลา ห่วงจะดันให้คอดูยาวกว่าปกติ โดยปกติในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมากันมากชาวกระเหรี่ยงคอยาวก็จะมานั่งประจำที่ร้านของตนเองเพื่อขายของที่ระลึก แต่ถ้าในช่วงที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ชาวกะเหรี่ยงคอยาวก็จะดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติ

"กะเหรี่ยงคอยาว" เป็นกลุ่มบุคคลที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ ด้วยความโดดเด่น และน่าสนใจจากการที่ผู้หญิงชาวเผ่านิยมใส่ห่วงที่เห็นว่าความยาวของห่วง ที่นำมาคล้องลำคอให้ยาวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะบ่งบอกถึงความงามของหญิงสาวชาวเผ่า ที่สวมใส่มากขึ้น ซึ่งไม่เหมือนกับมุมมองของคนโดยทั่วไป จนกลายเป็นความแตกต่างที่นักท่องเที่ยว ต้องการมาพบเห็น เมื่อได้มีโอกาสมาท่องเที่ยว คลิ๊กดู วีดีโอ
การใส่ปลอกคอทองเหลือง เหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในอดีตปาดองหรือแลเคอเป็นนักรบผู้กล้าหาญมีความกตัญญูรักษาสัจจะวาจาเท่าชีวิต และเคยมีอำนาจเหนือเมียนมาร์ได้ปกครองประเทศเมียนมาร์มาก่อน แต่ถูกเมี่ยนมาร์รวมกำลังกับชนเผ่าบังการี ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของบังคลาเทศ ทำสงครามขับไล่ปาดองจนต้องอพยพหลบหนีเพราะพ่ายต่อการรบ และได้นำราชธิดาผู้นำเผ่า ซึ่งอายุได้เพียง 9 ปี หลบหนีมาด้วยและราชธิดาได้นำต้นไม้ที่แลเคอเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า ต้นปาดองมีสีเหลืองอร่ามเหมือนทอง เมื่อมาถึงชัยภูมิที่เหมาะสมและพ้นอันตรายจากการติดตามของข้าศึกแล้วจึงหยุดไพร่พล ราชธิดาก็เอาต้นปาดองนั้นพันคอไว้และประกาศว่าจะเอาต้นปาดองออกจากคอเมื่อแลเคอกลับไปมีอำนาจปกครองเมียนมาร์ นับแต่นั้นมาพวกแลเคอผู้รักษาวาจาสัตย์ก็จะนำเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 8 ขวบมาพันคอด้วยห่วงทองเหลืองที่มีความหนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร โดยมีหมอผีประจำเผ่าเป็นผู้ทำพิธี โดยท่องมนต์และกลอนเตือนใจให้สำนึกว่าต้องพยายามกู้ชาติชิงแผ่นดินคืน เหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์อีกทางหนึ่งคือ. การใส่ปลอกคอทองเหลืองนั้นเริ่มเมื่อเด็กหญิงปาดองอายุได้ 5-9 ปี หมอผีประจำหมู่บ้านจะทำพิธีเสี่ยงทายกระดุกไก่เพื่อหาฤกษ์ แต่เดิมมาจะใส่เฉพาะเด็กหญิงที่เกิดวันพุธตรงกับวันเพ็ญเท่านั้นและต้องเป็นเลือดปาดองแท้ ๆ จะเป็นลูกผสมต่างเผ่าพันธุ์ไม่ได้ การปฏิเสธใส่ห่วงคอจะถูกสังคมรังเกียจทำให้หญิงปาดองต้องอับอาย บางรายถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านทำให้เกิดความว้าเหว่ กลัดกลุ้มจนล้มป่วยและในที่สุดก็ตายหรือไม่ก็ฆ่าตัวตาย ปัจจุบันหญิงปาดองที่ใส่ห่วงคอทองเหลืองไม่จำเป็นต้องเลือกเฉพาะที่เกิดวันเพ็ญ ที่ตรงกับวันพุธแล้วต่างหันมานิยมใส่กันหมด โดยใช้ทองเหลืองที่นำมาจากเมืองเบงลองประเทศเมียนมาร์ น้ำหนักเมื่อแรกใส่ประมาณ 2.5 กิโลกรัม นำทองเหลืองมาดัดเป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/3 นิ้ว ไส้ตัน ก่อนใส่ต้องอังไฟให้อ่อน แล้วนำมาขดรอบคอเป็นวง ๆ เหมือนลวดสปริง ประมาณ 9 วง ผู้ใส่ห่วงจะต้องมีความชำนาญและมีฝีมือ มิฉะนั้นห่วงจะไม่สวย และผู้ถูกใส่ห่วงจะเจ็บคอ ปกติทั่วไปหญิงปาดองจะมีห่วงคอ 2 ชุด ชุดแรกใส่เป็นฐานบนไหล่มี 5 วง ต่อจากนั้นขึ้นไปบนคอจะมีอีกประมาณ 20 วง ห่วงชุดนี้ แยกออกจากกันแต่มีโลหะยึดไว้ด้านหลังคอ และวงบนสุดจะมีหมอนใบเล็ก ๆ ใส่ค้ำคางไว้กันการเสียดสี การเพิ่มจำนวนห่วงที่คอ จะเปลี่ยนขนาดทุก 4 ปี ในชีวิตของหญิงปาดองจะเปลี่ยนทั้งหมด 9 ครั้ง ครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนขนาดหญิงปาดองจะมีอายุประมาณ 45 ปี จำนวนห่วงมากที่สุด 32 ห่วง น้ำหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัม ความยาวสูงสุดประมาณ 35 เซนติเมตร
ศาสนาและความเชื่อ ปาดองที่นับถือพุทธจะควบคู่ไปกับการเชื่อเรื่องผีและสิ่งที่เหนือธรรมชาติทั้งปวง พวกเขาถือว่าหากทำให้ผีไม่พอใจจะทำให้เกิดภัยอันตรายมาสู่คนในบ้านเรือนและชุมชน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งศาลที่บ้าน ที่ทุ่งนา ริมลำห้วย ในป่า เมื่อจะประกอบพิธีกรรมจะต้องมีการเสี่ยงทายด้วยกระดูกไก่ เพื่อหาฤกษ์ เช่น การปลูกบ้าน ถางไร่ หว่านเมล็ดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การล่าสัตว์ ถ้ามีการเจ็บป่วยเชื่อว่าผีและวิญญาณมาเอาขวัญผู้ป่วยไป ต้องให้หมอผี เป็นผู้ติดต่อสอบถามว่าต้องการให้เซ่นด้วยอะไร เช่น หมู ไก่ ข้าว สุรา บางครั้งถ้ามีโรคระบาดป่วยกันเกือบทั้งหมู่บ้านพวกเขาต้องจัดพิธีกรรมบวงสรวงผีและวิญญาณเพื่อชำระล้างหมู่บ้าน
ลาหู่ (หูใหญ่)หรือมูเซอ ลาหู่เป็นชนเผ่าที่มีความหลากหลายในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า 6 เผ่า ทางภาษาไม่มีการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือลาหู่แดง การนับถือผีโดยโตโบ ผู้นำทางศาสนา และยังมีจำนวนมากในลาหู่ดำ ลาหู่เหลือง และลาหู่เชเละ มีเป็นจำนวนมากที่เป็นคริสเตียน ถึง 100 ปีมาแล้ว ลาหู่มีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการพิจารณาเป็นภาษาท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐาน
ถึงแม้ว่าจะยังชีพด้วยการเป็นชาวนา ปลูกข้าว และข้าวโพด เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ลาหู่ ยังภูมิใจกับการเป็นนักล่าสัตว์ เขาจะเคร่งครัดกับกฎระเบียบของความถูกและผิด ทุกๆ คนจะตอบคำถามในพื้นฐานเดียวกับคนรุ่นเก่า โดยที่ให้ความสำคัญกับการเป็นครอบครัวขยายน้อยกว่าเผ่าอื่นๆ ชาวลาหู่ยังเข้มแข็งต่อการยึดมั่นต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และทำงานด้วยกันเพื่อยังชีพ ลาหู่อาจเป็นกลุ่มคนที่มีความเท่าเทียมทางด้านเพศมากที่สุดในโลก.

กะเหรี่ยง(ยาง) ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อพยพเข้ามาเป็นสองพวก พวกหนึ่งเข้ามาทางเหนือ กระจายไปอยู่ในท้องที่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน ลำปาง หนาแน่นที่สุดที่แม่ฮ่องสอนอีกพวกหนึ่งเข้ามาจากพม่า ชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่ กะเหรี่ยงกับช้าง จึงเปรียบเสมือนเพื่อนคู่ชีพของชนเผ่ากะเหรี่ยงมาจนถึงปัจจุบัน ความรักความผูกพัน ของควาญช้างชาวกะเหรี่ยงได้กล่าวว่า "ถ้าพูดถึงช้าง จะรักเหมือนลูกเหมือนเมียคนหนึ่ง บางครั้งกลางดึก ได้ยินเสียงช้างร้องในป่าก็ต้องวิ่งไปดูจะมืดจะคํ่าก็ต้องไป" ถ้าพูดถึงความรักก็จะรักมาก บางครั้งเอากลับมาจากป่าต้องดูแลอย่างดี หากติดโรคผิวหนังกลับมา ก็ต้องหาซื้อยามาใส่ให้ รักเขาเหมือนลูกดูแลเขาเหมือนเด็กคนหนึ่ง เมื่อก่อนเคยมีช้างตาย 1 ตัว เสียใจและร้องไห้มากเหมือนญาติของเราเสียคนหนึ่ง ไม่เคยเรียนหนังสืออยู่กับช้างมาตั้งแต่ยังเล็กจนโต ไม่เคยทอดทิ้งหรือห่างเหินกันมาก่อนเลย ถ้าไม่ได้เห็นน่ากันก็เหมือนไม่มีความสุข.

ปะหล่อง เป็นชนเผ่าที่อพยพจากเมียนมาร์เข้าสู่ไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า "ดาละอั้ง" คำว่า ปะหล่องเป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งใช้เรียกชนกลุ่มนี้นอกจากนี้ยังมีคำเรียกที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ชาวเมียนมาร์เรียกปะหล่องว่า "ปะลวง" และไทยใหญ่บางกลุ่มก็ใช้คำว่า "คุนลอย" ซึ่งมีความหมายว่าคนดอย หรือคนภูเขาแทนคำว่า "ปะหล่อง" บ้านปะหล่องโดยทั่วไป จะเป็นบ้านแบบยกขึ้น ความสูงประมาณ 1-3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของไหล่เขา ก่อสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น เสาทำด้วยไม้จริงพื้นและฝาใช้ฟากไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาพื้นที่ใช้สอยประกอบด้วย ชาวบ้าน ห้องเอนกประสงค์ ซึ่งใช้สำหรับการรับแขกและหุงหาอาหาร บริเวณด้านในสุดเป็นส่วนนอนของสมาชิกในครอบครัว มีเตาไฟอยู่กลางห้องและหิ้งพระอยู่ที่หัวนอน

ม้งหรือแม้ว ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมม้งตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของโลก เป็นดินแดนที่อากาศหนาวเย็น ปกคลุมด้วยหิมะ ต่อมามีชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้อพยพลงมาอยู่ตอนเหนือของประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งไปอยู่สหรัฐอเมริกา และยุโรป ม้งในประเทศลาวมีราว ๒๓๐,๐๐๐ คน ประเทศจีน ราว ๕.๐๓ ล้านคน ประเทศเวียดนามราว ๖๗๐,๐๐๐ คน ประเทศไทยราว ๑๓๐,๐๐๐ คน ภาษาม้งจัดอยู่ในสาขาเมี้ยว-เย้าจองตระกูลจีน-ธิเบต และพบว่ามีคำที่มาจากภาษาของชนกลุ่มอื่นปะปนอยู่ เช่น ภาษายูนนาน ลาวไทยเหนือ กะเหรี่ยง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับชนกลุ่มใด ภาษาของม้งขาวกับม้งเขียวมีความ แตกต่างกันมากจนพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ชาวเขาเผ่าม้งหรือแม้วมีประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งความเชื่อ เป็นของตนเองสืบมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่งในปัจจุบันพวกเค้าก็ยังรักษา และยึดถืออยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง. ม้งจะชอบตั้งบ้านอยู่บนดอยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งม้งบางกลุ่มจะมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ ม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นราบลุ่มเขา และยังมีม้งบางกลุ่มก็ยังคงตั้งรกรากอยู่บนดอย แต่ไม่ลึก เข้าไปเท่าไร การคมนาคมพอที่จะเข้าไปถึงได้ หมู่บ้านม้งจะประกอบด้วยกลุ่มเรือนหลายๆหย่อมแต่ละหย่อมจะมีบ้านราวๆ 7-8 หลังคาเรือน โดยที่มีเรือนใหญ่ของคนสำคัญอยู่ตรงกลาง ส่วนเรือนที่เป็นเรือนเล็กจะเป็นลูกบ้านหรือลูกหลาน ส่วนแต่ละหย่อมนั้นจะหมายถึงตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติพี่น้องกันนั่นเอง ม้งจะมีการย้ายบ้านเมื่อมีโรคระบาด หรือมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดกับหมู่บ้าน หรือขัดแย้งกับราชการจนต้องมีการ ต่อสู้เกิดขึ้น ในการย้ายแต่ละครั้งจะมีการย้ายแบบระมัดระวังที่สุด เมื่อใกล้จะย้ายแล้วม้งมีการขุดหลุมเพื่อที่จะฝังสัมภาระที่เป็นหม้อข้าว-หม้อแกง ที่ไม่จำเป็นมาก และจะทำเครื่องหมายบางอย่างที่สามารถที่จะจำได้ไว้ เพื่อย้อนกลับมาเอาเมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อย เมื่อเริ่มย้ายม้งจะนำม้า เป็นพาหนะในการบรรทุกของ โดยให้ผู้ชายนำขบวนเดินทางพร้อมกับแผ้วถางทางเดินให้กับผู้หญิง และลูกเดินตามกับม้าที่บรรทุกของด้วย และจะไว้ผู้ชายที่มีอาวุธอยู่ท้ายขบวนคอยป้องกันดูแล เมื่อการเดินทางไปถึงบริเวณที่ต้องการที่จะตั้งรกรากแล้ว การที่จะอยู่ในบริเวณนั่นได้นั้น จะต้องให้คนที่เป็นหมอผีหรือคนทรงเจ้าจะเป็นคนเสี่ยงทายพี้นที่นั้นก่อน เพื่อความอยู่รอดของม้ง.
สวนกล้วยไม้ สวนผีเสื้อ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นสวนผีเสื้อแห่งแรกของประเทศไทย ศูนย์รวมดอกกล้วยไม้ไทยที่สำคัญควรค่าแห่งการอนุรักษ์ทั้งกล้วยไม้พันธุ์แท้และพันธุ์ที่หายาก มีสวนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้โดยเฉพาะอยู่หลายแห่ง ซึ่งเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ตลอดฤดูกาลหลากหลายพันธ์ที่มีชื่อเสียงของโลก คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม และสัมผัสอย่างใกล้ชิดเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับสวยงามที่ผลิตจากดอกกล้วยไม้ แมลง และดอกกุหลาบ รวมทั้งการสาธิตการประดิษฐ์เครื่องประดับให้ชมทุกขั้นตอน มีร้านอาหารฝีมือดี ราคาย่อมเยาไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วย คลิ๊กรายละเอียด


แวะโรงเรียนลิงและชมการแสดง. และฟาร์มงูและชมการแสดง (ถ้ามีเวลาเหลือ ไม่รวมค่าเข้าขม).

ราคาทัวร์ครึ่งวัน THD 005
บริการเป็นส่วนตัว เช่ารถพร้อมคนขับ(รวมน้ำมัน)
รถโฟร์วีลไดรฟ์ ราคา 1,000 บาท ต่อรถ1คัน "รถแอ๊ดเวนเจอร์ติดแอร์" บริการพร้อมคนขับที่มีความชำนาญในเส้นทาง: สำหรับ 2-6 ท่าน เช่าพร้อมคนขับ(รวมน้ำมันและประกันอุบัติเหตุ)
รถตู้ D4D ราคา 1,200 บาท ต่อรถ1คัน "รถตู้แอร์VIPแบบD4D" บริการพร้อมคนขับที่มีความชำนาญในเส้นทาง:สำหรับ 4-11 ท่าน เช่าพร้อมคนขับ(รวมน้ำมันและประกันอุบัิติเหตุ)
รับและส่งที่โรงแรมในเมือง เวลา 8.30น.-17.00น.ทัวร์มีทุกวันไม่มีวันหยุด |
Somboon Tour Chiangmai Thailand
สมบูรณ์ทัวร์เชียงใหม่
(หน้าโรงแรมพรพิงค์ทาวเวอร์ เชียงใหม่)
โทรศัพท์ 08 1980 3221 คุณมันทนา
+668 1980 3221 Code ต่างประเทศ
08 1111 1176 อ๊อฟฟิต
053 818 067 แฟกซ์
|
นายปรีชา ศรีสวัสดิ์
ธนาคารออมสิน
สาขามีโชคพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
เลขที่บัญชี ออมทรัพย์, เผื่อเรียก
0200 7560 3421
|
โอนเงินมัดจำในการจองทัวร์
มันทนา กุ่ยแก้ว
ธนาคารกรุงเทพจำกัด
สาขาถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่
เลขที่บัญชี ออมทรัพย์
423-056816-6
|
--- 12ปี ที่นำท่านสู่ความปลอดภัย --- |

เชียงใหม่ทัวร์ บริการคนเชียงใหม่ที่สมบูรณ์ ทัวร์เชียงใหม่
Somboon Tour Chiangmai Thailand
 

 
 
 
บริการ.. คืองานของเราและความมุ่งมั่นในด้านการให้บริการมานาน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ ความสามารถ และมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ด้วยคำปฏิญาณที่ว่า "เราจะคำนึงถึงความปลอดภัย มาเป็นอันดับหนึ่ง" และด้านการให้บริการลูกค้าอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าเสมอครับ ทีมงานมีรถให้ลูกค้าเลือกใช้บริการตามความต้องการของลูกค้า |

อภิสิทธิ์ อินทะพันธุ์ (หนุ่ย) พนักงานขับรถ
จัดทัวร์ทั่วไทย สูขใจทุกที่ คนขับฝีมือดี ต้องที่ สมบูรณ์ทัวร์ |
|